You are currently viewing วิ่งยังไง ให้ปลอดภัยต่อไขข้อ

วิ่งยังไง ให้ปลอดภัยต่อไขข้อ

  • Post author:
  • Post category:Blog

การออกกำลังกายนั้นเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง โดยรูปแบบของการออกกำลังกายนั้นก็จะมีมากมายหลายแบบอยู่ที่ว่าเราต้องการจะออกกำลังกายเพื่ออะไร ไม่ว่าจะออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและภูมิคุ้มกันที่ดี หรือว่าออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซึ่งแต่ละจุดประสงค์จะมีท่าทางในการออกกำลังกายที่แตกต่างกันไป แต่หนึ่งในการออกกำลังกายรูปแบบที่ง่ายที่สุดนั้นก็คือการเดินและการวิ่งนั่นเอง สำหรับการเดินนั้นเป็นการเคลื่อนไหวที่ไม่รวดเร็วมากดังนั้นจึงไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่สำหรับการวิ่งนั้นการวิ่งก็มีหลายระดับ เริ่มตั้งแต่วิ่งจ๊อกกิ้งแบบเหยาะๆ,วิ่งเร็ว,วิ่งมาราธอน ซึ่งการวิ่งแต่ละแบบนั้นก็จะมีรูปแบบของการวิ่งที่แตกต่างกัน แต่ไม่ว่าคุณจะวิ่งแบบไหนรู้หรือไม่ว่าท่าทางการวิ่งนั้นก็มีผลต่อคุณเช่นกัน หากคุณวิ่งโดยจัดองค์ประกอบของร่างกายไม่ดี ก็อาจส่งผลให้การวิ่งนั้นก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บของร่างกายและไขข้อส่วนต่างๆได้ ดังนั้น วิ่งยังไง ถึงจะปลอดภัยและดีต่อสุขภาพวันนี้เราจะมาแนะนำท่าทางที่ถูกต้องให้กับทุกท่านกัน อยากรู้ว่าทำยังไงตามเรากันมาเลย

วิ่งยังไง ท่าทางแบบไหนถึงจะดี

จากที่เราได้บอกไปตอนต้นว่าการจัดระเบียบของร่างกายที่ไม่ดีนั้นอาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บของไขข้อต่างๆได้ดังนั้นเราจะมาเริ่มต้นกันตั้งแต่หัวจรดเท้ากันเลย เริ่มต้นที่ศีรษะของคุณควรจะตั้งตรงไม่ก้มหรือไม่เงยจนเกินไปสายตานั้นมองตรงไปข้างหน้าแต่ให้ผ่อนคลายช่วงคออย่าให้รู้สึกว่าเกร็งจนเกินไป หากคุณมองพื้นใกล้ๆจะทำให้น้ำหนักลงที่บั้นเอวส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ เมื่อศีรษะและลำคอตั้งตรงแล้วลำตัวก็ต้องตั้งตรงเช่นกัน จะต้องหลังตรงไม่ค่อมไม่แอ่น แต่จะใช้วิธีการโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยแทนเพื่อให้เกิดความมั่นคง ไม่โยกหรือส่ายในขณะที่คุณกำลังวิ่ง ปล่อยไหล่และแขนสบายๆแต่มือของคุณนั้นควรกำเบาๆและเกร็งข้อมือเล็กน้อย การที่คุณปล่อยมือให้สะบัดไปมาในขณะที่คุณกำลังวิ่งหรือแกว่งแขนไปมา อาจส่งผลให้ร่างกายมีการควบคุมที่ไม่สมดุลย์ซึ่งอาจมีผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายของคุณทั้งหมดได้  ดังนั้นจึงควรจัดท่าทางลักษณะของร่างกายทั้งหมดขณะวิ่งให้ดี

ส่วนที่สำคัญที่สุดคือเข่าและเท้า

สำหรับการวิ่งนั้นส่วนที่มีผลมากที่สุดก็คือส่วนของเข่าแล้วก็เท้านั่นเอง เพราะเป็นส่วนที่ใช้สำหรับเคลื่อนไหวร่างกายไปข้างหน้าซึ่งจะมีผลมากที่สุด ลักษณะการวิ่งนั้นจะมีการลงน้ำหนักที่เท้าสองลักษณะ คือการวิ่งแบบลงส้นเท้าและลงปลายเท้า ซึ่งแต่ละลักษณะนั้นก็จะใช้ส่วนของกล้ามเนื้อขาที่แตกต่างกัน คุณอาจมีเทคนิคการวิ่งที่หลากหลายรูปแบบหรือมีการลงน้ำหนักในแบบที่ถนัดแตกต่างกัน แต่ลักษณะการลงน้ำหนักที่เราจะแนะนำก็คือให้สลับกันบ้างในขณะที่วิ่ง เพราะการที่คุณเน้นลงน้ำหนักไปที่ใดที่หนึ่งเพียงอย่างเดียวเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อที่ใช้งานเกิดอาการบาดเจ็บเมื่อคุณวิ่งเป็นระยะเวลานานได้ ในช่วงเริ่มต้นนั้นสำหรับผู้ที่เริ่มหัดวิ่งคุณอาจไม่จำเป็นจะต้องทำท่าทางตามนี้ให้ได้ดังที่เราแนะนำ ขอให้วิ่งในรูปแบบสบายๆของคุณไปก่อนแล้วค่อยๆปรับจัดท่าทางให้ดีมากขึ้นเพื่อให้สามารถวิ่งได้ด้วยท่าทางที่เป็นธรรมชาตินั่นเอง และอย่าลืมว่าก่อนวิ่งและหลังวิ่งทุกครั้งคุณควรวอร์มร่างกายและกล้ามเนื้อเสียก่อน เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อเพิ่มความยืดหยุ่นให้ส่วนต่างๆ เป็นการลดอาการบาดเจ็บจากการวิ่งนั่นเอง